Pongpon Thanchan

รูปภาพของฉัน
การศึกษา:วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม แผนก อิเล็กทรอนิกส์

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คีย์บอร์ด (keyboard)

คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก

เมนบอร์ด (mainboard)

เมนบอร์ด (mainboard)คือ แผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ หรือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่นไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD, CD-ROM , FDD VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน
สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลัก พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้

Power Supply

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชิ้นจะไร้ค่าทันที ถ้าหากไม่มีกระแสไฟฟ้า พาวเวอร์ซัพพลายจะทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์คุณมีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เช่น 450 วัตต์ เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

พัดลมระบายความร้อน

พัดลมเคส ทั่วๆไปก็จะมี2-3ตัว ติดอยู่ที่ตัวเคส การระบายอากาศที่ดีจะต้องมีพัดลมดูดอากาศจากภายนอกเข้าเคส1ตัว แล้วดูดจากเคสออกอีก1ตัวฮีตซิงค์ที่ติดกับอุปกรณ์ก็จะมีพัดลมช่วยระบายความร้อนออกมาเช่นกัน เช่น CPU และ การ์ดจอทิศทางการไหลเวียนของอากาศภายในเคสก็สำคัญ การจัดการไหลเวียนของอากาศภายในเคสที่ดีย่อมส่งผลให้ตัวเคสมีอุณภูมิไม่สูงมากจนเกินไป การระบายความร้อนด้วย พัดลมเป็นการระบายความร้อนที่ดีระดับหนึ่งหาซื้อง่ายราคาถูก ติดตั้งง่าย

ซีดีรอม CD-ROM

ซีดีรอม (CD-ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น

จอคอมพิวเตอร์

จอคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์แสดงผล เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic)สำดหรับจอคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel ลักษณะภายนอกของจอคอมพิวเตอร์ก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอคอมพิวเตอร์มีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอคอมพิวเตอร์แสดงผล ปัจจุบันมีการพัฒนาจอคอมพิวเตอร์ออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้1. จอคอมพิวเตอร์สีเดียว (Monochrome Monitor)2. จอคอมพิวเตอร์หลายสี (Color Monitor) 3. จอคอมพิวเตอร์แบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การ์ดจอ

การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ



วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์ดดิสก์

Harddisk หมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กใข้เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ โดยปกติจะบบรจุไว้ในกล้องมิดชิด บางทีเรียก "Fixed disk" Harddisk เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลไว้ด้เป็นการถาวรตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลก็จะไม่ศูนย์หายไปไหน สามารถอ่านเละบันทึกข้อมูลเพิ่มลงได้ ขนาดความจุวัดกันเป็น MB หรือ GB ความเร็วทั่วไปคือ 5400 รอบต่อนาทีแต่ในปัจจุบันนี้เริ่มนิยมความเร็ว 7200 รอบต่อนาทีเนื่องจากมีราคาต่างจาก 5400 รอบ เพียงไม่กี่ร้อยบาท ส่วน Harddisk ที่เป็น scsi port นั้นราคายังสูงมากแต่มีความเร็วหมุนจานที่ 10000 รอบต่อนาทีขึ้นไป Harddisk สามารถอ่านวิธีการ Set Jumper ให้เป็น Master หรือ Slave หรือให้ Cable Select ได้จากบนตัวฮาร์ดดิสก์นั่นเอง รวมทั้งจะมีตัวเลขของคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น Cylinder , Heads , Sectors ของ HDD ตัวนั้นไว้ด้วย ซึ่งค่าตัวเลขเหล่านี้จะช่วยในการกำหนดขนาดของหน่วยความจุในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง ปกติแต่ละตัวจะมีการตั้ง Jumper เป็น Master และขา 1ของ Port สายสัญญาณจะอยู่ด้าน Port สายไฟเสมอ

เมาส์(Mouse)

เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ mouse pointerเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสรร ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสรรแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน
การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(ในรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญานวิทยาเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า Wireless mouse